เนื่องใน วันเบาหวานโลก ซึ่งจะตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี วันนี้เราจึงจะพาทุกท่านได้ไปรู้จักกับโรคเบาหวานว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แล้วตัวคุณนั้นอยู่ในความเสี่ยงที่อาจจะเป็นเบาหวานได้หรือไม่ รวมถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานที่สามารถทำตามได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้นแล้วเราไปหาข้อมูลเรื่องนี้พร้อมกันเลยดีกว่า

วันเบาหวานโลก

ประวัติน่ารู้ของ วันเบาหวานโลก

วันเบาหวานโลก เป็นการรณรงค์เพื่อให้ผู้คนได้มีความตื่นตระหนักถึงโรคเบาหวาน ซึ่งจะจัดขึ้นทุกวันที่ 14 พฤศจิกายนนั่นเอง เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่พ.ศ.2534 โดยสหพันธ์เบาหวานแห่งชาติและองค์การอนามัยโลก มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะได้คำนึงถึงโรคเบาหวานที่มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ไปทั่วทั้งโลก

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร

โรคเบาหวาน เกิดจากการที่ฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายของเรามีความผิดปกติ เพราะร่างกายคนเราต้องมีอินซูลินเพื่อนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ และหากร่างกายมีภาวะที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของอินซูลินหรืออวัยวะต่าง ๆ ได้ตอบสนองอินซูลินน้อยลง ก็จะไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น จึงทำให้ปริมาณน้ำตาลนั้นคงเหลือในเลือดมากกว่าปกติได้ เรามาตระหนักถึงเรื่องเบาหวานกันให้มากขึ้น เนื่องในวันเบาหวานโลกกันเถอะ

เบาหวานมีชนิดไหนบ้าง

คุณรู้หรือไม่ว่า โรคเบาหวานมีหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป แต่จะมีชนิดอะไรบ้าง แล้วเกิดจากอะไร เราไปเรียนรู้กันเนื่องในวันเบาหวานโลกกันดีกว่า

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus : T1DM) เกิดจากภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของตนเอง ได้มีการทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อน จึงเกิดภาวะขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus : T2DM) เกิดจากภาวะดื้ออินซูลินจากการมีพันธุกรรมโรคเบาหวาน ร่วมกับมีพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม นำมาซึ่งโรคอ้วน มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน (BMI>25) และพบบ่อยที่สุดร้อยละ 95 ของผู้เป็นเบาหวานทั้งหมด
  • โรคเบาหวานที่มีสาเหตุเฉพาะอื่น ๆ (Diabetes Other specific types) โดยเกิดจากการที่ตับอ่อนมีความผิดปกติ เช่น ติดเชื้อที่ตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มแอลกอฮอล์ และจากการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น หรืออาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของอินซูลินตั้งแต่เกิด
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักจะเกิดเมื่อไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ และเมื่อคลอดแล้วก็จะหายกลับมาเป็นปกติ แต่หากใครที่ได้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วนั้น อาจจะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สองในอนาคตได้

วันเบาหวานโลก

ใครบ้างที่เสียงโรคเบาหวานมากที่สุด

เนื่องในวันเบาหวานโลก ลองมาเช็กกันก่อนดีกว่า ว่าคุณนั้นมีโอกาสหรือเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคเบาหวานหรือไม่

  • ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน และมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง >= 140/90 mmHg หรือได้รับยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) > 5.7% หรือค่าน้ำตาลขณะอดอาหาร >= 100 mg/dL
  • มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 kg
  • สูบบุหรี่ ดื่มสุราและไม่ออกกำลัง

ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย

หากร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติเป็นระยะเวลานาน ก็จะส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะอักเสบ และอาจถึงขั้นหลอดเลือดอุดตันได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่าง ๆ ต่อภาวะภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ที่อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เรามักพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ก็จะมีดังนี้

1.ภาวะแทรกซ้อนทางตา

หรือที่เรียกกันว่าภาวะเบาหวานขึ้นตา เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังได้ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อม เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานและไม่ได้รักษา อาจส่งผลต่อการมองเห็นในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดภาวะต้อกระจก หรือต้อหินได้มากกว่าปกติ

2.ภาวะแทรกซ้อนทางไต

ในระยะเริ่มแรก ไตจะทำงานหนักขึ้น เพราะจะทำให้แรงดันเลือดที่ไปที่ไตนั้นสูงตามไปด้วย  หากตรวจการทำงานของไตในระยะเริ่มแรกนี้ จะไม่พบความผิดปกติ และการตรวจปัสสาวะก็ยังไม่มีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมา แต่ถ้าเข้าสู่อีกระยะก็จะพบโปรตีนไข่ขาว รั่วปนออกมากับปัสสาวะและอาจมีการทำงานของไตที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจจะเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังจนต้องล้างไต

3.ภาวะแทรกซ้อนทางเส้นประสาท

เป็นภาวะที่พบบ่อยสุดเพราะผู้ป่วยจะมีอาการชาปลายมือปลายเท้าเหมือนกับใส่ถุงมือหรือถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งบางคนอาจมีอาการเจ็บเหมือนโดนเข็มทิ่ม หรือบางคนจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณปลายมือปลายเท้า และและอาจมีอาการเหงื่อออกน้อยลงหรือออกง่ายกว่าปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ท้องอืดง่ายจุกแน่นลิ้นปี่ ซึ่งเป็นอาการของระบบประสาทที่ควบคุมระบบทางเดินอาหาร

4.เส้นเลือดแดงใหญ่อุดตัน

โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณขา โดยจะมีอาการปวดขามากเมื่อเดินหรือวิ่งและดีขึ้นเมื่อพักหรือห้อยขาให้ต่ำลง บางทีอาจจะปลายเท้าเย็น ขนขาร่วงผิวหนังบริเวณขามันเงา และถ้าหากได้ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาก็จะทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันและขาดเลือดได้ ตลอดจนติดเชื้อในที่สุดจึงอาจต้องทำการรักษาชีวิตเอาไว้ด้วยการตัดนิ้วเท้าหรือตัดขา

5.เส้นเลือดหัวใจตีบ

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและเป็นภาวะที่รุนแรง เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากรุนแรงก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายส่งผลให้การบีบตัวลดลงและเกิดหัวใจวายในที่สุด ซึ่งภาวะเช่นนี้ก็จะทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้

6.เส้นเลือดสมองตีบ

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นเดียวกัน ทำให้การทำงานของสมองและเส้นประสาทขาดเลือดและไม่ทำงานในที่สุด ส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต พูดไม่ชัด มีอาการชาครึ่งซีกหรือปากเบี้ยวได้

วันเบาหวานโลก

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

คุณสามารถที่จะป้องกันโรคเบาหวานได้ด้วยการควบคุมอาหาร เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เช่น  การรับประทานผักใบเขียว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว หรือทานผลไม้หวานน้อย โดยรับประทานในปริมาณที่จำกัด อาจทานควบคู่กับการออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิก ก็ได้เช่นกัน เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

หากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุและได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานเนื่องใน วันเบาหวานโลก กันดีกว่าและอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุดที่เราอยากแนะนำ ก็คือการเข้ารับคำปรึกษาและสั่งอาหารเพื่อสุขภาพกับ Modish Food Design ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักโภชนาการมาคอยดูแลอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน พร้อมส่งตรงถึงบ้านคุณโดยไม่ต้องเดินทางมาซื้ออาหารด้วยตนเอง นอกจากนี้ก็ยังมีบริการให้คำปรึกษาโดยโดยนักกำหนดอาหารและนักโภชนาการฟรีตลอดคอร์สอีกด้วย

หากคุณสนใจก็สามารถสั่งซื้อหรือสอบถามต่างๆ เข้ามาได้เลยที่

โทร : 090-919-7414

Line ID : @modishfooddesign (มี@ด้านหน้า) หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40rje5924p

เพจ FB : https://www.facebook.com/modishfooddesign