อาหารผู้ป่วยโรคไต เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือระยะสุดท้ายได้ ตั้งแต่ระยะ 3 ถึงระยะที่ 5 โดยการรับประทานอาหารที่ออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยยาและการฟอกเลือดด้วยไตเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและลดอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ที่ตามมาด้วย
โดยปกติแล้วไตจะทำหน้าที่กรองของเสียและโซเดียมออกมาผ่านทางปัสสาวะ หากไม่ควบคุมอาหารให้เหมาะสำหรับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตจะทำให้ไตทำงานหนักและกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้อาการป่วยทวีความรุนแรงขึ้นและมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้
ทำไมผู้ป่วยโรคไตต้องคุมอาหาร?
เนื่องจากผู้ป่วยที่มีปัญหาไตเสื่อม จะมีประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ทำให้ไตขับและกรองของเสียได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้ของเสียเกิดการคั่งภายในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจช็อค หมดสติ เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น ผู้ป่วยไตเสื่อมควรเลือกทานอาหารที่เหมาะสมกับไต และมีประโยชน์แก่ร่างกาย โดยสารอาหารที่ต้องควบคุมการรับประทานเป็นพิเศษ คือสารอาหารประเภทโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ เพื่อช่วยให้ไตทำงานไม่หนักเกินไปในการขับและกรองของเสียดังกล่าว
อาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง
อาหารผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมในปริมาณมาก โดยจำกัดเกลือในปริมาณที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ช้อนชาต่อวัน รวมถึงอาหารประเภทต่างๆ ต่อไปนี้ที่ผู้ป่วยไตควรเลี่ยง
- อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง มักพบในอาหารที่ปรุงรสเค็มจัด หรืออาหารสำเร็จรูป รวมถึงเครื่องปรุงต่างๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรม ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ
- อาหารหมักดอง ที่ส่วนใหญ่มีรสเค็มและผ่านการแปรรูปด้วยการหมักดอง เช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า แหนม กิมจิ เป็นต้น
- เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งด้วยการใส่สารเสริมต่างๆ และมีคุณค่าทางสารอาหารน้อย เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แหนม หมูยอ แฮม เบคอน เป็นต้น
- อาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูงหรือมีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่แดง กะทิ น้ำมันปาล์ม เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ทุกชนิด เป็นต้น
- อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม ส่วนใหญ่มักพบในของหวานและขนมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเบเกอรี่ ขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิหรือครีมเทียม เช่น เค้ก ขนมปัง มัฟฟิน ครัวซองต์ พิซซ่า พาย ขนมไทยบางชนิดที่มีส่วนประกอบของกะทิ เป็นต้น
- เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง เช่น หมูสามชั้น คอหมูย่าง หนังไก่ทอด เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่ เป็นต้น
- อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม นมถั่วเหลือง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลากรอบ ขนมปัง ถั่วและธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
- อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ทุเรียน มะเขือเทศ ผลไม้แห้ง กล้วย ลูกพรุน น้ำมะพร้าว ผักใบเขียวหรือผักที่มีสีเข้ม หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรนำไปลวกน้ำร้อนก่อนรับประทานเพื่อช่วยชะล้างโพแทสเซียมในผัก
อาหารผู้ป่วยโรคไตที่สามารถรับประทานได้
ผู้ป่วยโรคไตควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และให้พลังงานที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานเหล่านี้ได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาหารผู้ป่วยโรคไตนั้น ควรมีปริมาณและสารอาหารที่พอเหมาะ ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- โปรตีนคุณภาพ จากเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง เนื้อปลาที่มีโอเมก้า 3 และมีไขมันต่ำ ไข่ขาว อกไก่ หมูสันใน โดยจำกัดการทานโปรตีนในแต่ละวันตามระยะของผู้ป่วยไต ดังนี้
- โรคไตระยะ 1-3A สามารถทานโปรตีนได้ปกติในสัดส่วน 0.8 – 1.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 (กก.) /วัน
- โรคไตระยะที่ 3B-5 และยังไม่ได้ฟอกไต ควรควบคุมปริมาณโปรตีนไม่เกินวันละ 0.6-0.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 (กก.) /วัน
- โรคไตที่มีการฟอกไตแล้ว แนะนำให้ทานโปรตีนในปริมาณ 1.2-1.3 กรัม/น้ำหนักตัว 1 (กก.) /วัน
- คาร์โบไฮเดรตที่มีฟอสฟอรัสต่ำ เช่น ข้าวขาว ขนมปังที่ทำจากแป้งขัดสี วุ้นเส้น เส้นหมี่ขาว เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เป็นต้น โดยเลือกทานในปริมาณที่พอเหมาะในทุกมื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เหมาะสม
- น้ำมันประกอบอาหาร ควรเลือกใช้เป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอกแทนน้ำมันจากสัตว์หรือน้ำมันหมู
- ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ โดยเลือกจากผักหรือผลไม้ที่มีสีอ่อน เช่น เงาะสับปะรด สาลี่ แอปเปิล ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เป็นต้น
- ไขมันไม่อิ่มตัว พบในน้ำมันพืชต่างๆ อาทิ น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก
- กรณีที่ผู้ป่วยโรคไตมีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่เกินวันละ 700 – 1,000 cc.
ข้อแนะนำดี ๆ สำหรับการเลือกรับประทานอาหารผู้ป่วยโรคไต
- รับประทานอาหารให้ได้พลังงานที่เพียงพอต่อร่างกาย
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และหวานมันเค็ม
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋องและอาหารแปรรูป
- เลือกเนื้อสัตว์ที่เป็นโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ขาว อกไก่ หมูสันใน ปลา โดยทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อการทำงานของไต (โดยขอคำปรึกษาจากแพทย์และนักกำหนดอาหาร)
- รับประทานผักสุกที่มีโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง อย่างน้อย 1 ทัพพี/มื้อ และเสริมด้วยผลไม้ 6-8 ชิ้นคำ/วัน
แจกเมนูแนะนำสำหรับอาหารผู้ป่วยโรคไต
- แกงส้มชะอมไข่ขาวและข้าวผัดกระเทียม
- ปลากระพงต้มกระชายและข้าวผัดกระเทียม
- แกงเลียงปลากระพงและข้าวผัดกระเทียม
- อกไก่ผัดขิงและข้าวผัดกระเทียม
- ผัดรวมมิตรอกไก่ไข่ขาวและข้าวผัดกีะเทียม
- ข้าวผัดต้มยำปลากะพงย่า
นอกจากนี้ อาหารผู้ป่วยโรคไตยังมีเมนูอื่นๆ อีกมากมายในรูปแบบอาหารแช่แข็ง ที่สามารถเก็บไว้ทานได้นาน[11] ปลอดภัย และมีสารอาหารถูกต้อง ครบถ้วน คิดค้นและปรุงประกอบเมนูมาเพื่อผู้ป่วยโรคไตโดยเฉพาะ ได้รับการออกแบบและคำนวณสารอาหารโดยทีมแพทย์ นักกำหนดอาหารและเชฟมืออาชีพ ผู้ที่ไม่สะดวกปรุงประกอบอาหารผู้ป่วยโรคไตเองสามารถสั่งอาหาร Delivery กับ ‘สำรับไต อาหารที่ออกแบบเพื่อผู้ป่วยโรคไต’ โดยสามารถเข้าไปดูเมนูอาหารและรายละเอียดได้ที่
เพจ Facebook : สำรับไต อาหารที่ออกแบบเพื่อผู้ป่วยโรคไต
Line : @modishshop (มี@ด้านหน้า) หรือคลิก https://lin.ee/xOvcpRM
โทร : 085-804-6542